วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

Beautiful Show 2014

B2ST (บีสท์) หกหนุ่มบอยแบนด์สุดฮอต เตรียมจัดคอนเสิร์ตเดี่ยว Beautiful Show 2014 เปิดฉากที่ KINTEX ศเกาหลีใต้ 15-16 สิงหาคมนี้


B2ST

หลังจากประสบความสำเร็จจากเพบว Good Luck ไตเติ้ลแทร็คจากอัลบั้มชุดล่าสุด จนคว้าตำแหน่งแชมป์เพลงฮิตในชาร์ตเพลงหลักของเกาหลีมาแล้วมากมาย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา หลังจาก B2ST ได้รับรางวัลเพลงฮิตอันดับหนึ่งจากรายการ Inkigayo ก็เป็นครั้งแรกที่ โยซอบ หนึ่งในสมาชิกของ B2ST ได้กล่าวถึงคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ของพวกเขาที่กำลังจะเกิดขึ้น และขอให้เหล่าแฟนเพลงโปรดติดตามรายละเอียดซึ่งจะเปิดเผยในเร็ววันนี้

สำหรับคอนเสิร์ต Beautiful Show 2014 ของหกหนุ่มวง B2ST ได้รับการยืนยันว่าเปิดฉากการแสดง ณ KINTEX อิลซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 15-16 สิงหาคมที่จะถึงนี้

B2ST มักมีแผนงานจัดคอนเสิร์ตเดี่ยวของพวกเขาในคอนเซ็ปต์ที่แตกต่างกันออกไปต่อเนื่องทุกปีนับตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งคอนเสิร์ต Beautiful Show 2013 ที่จัดเมื่อปีที่แล้วก็สามารถทำยอดผู้เข้าชมได้สูงมากกว่า 20,000 คน ทำเอาแฟนๆ ของหกหนุ่มวง B2ST ต่างตั้งตารอคอยคอนเิสิร์ตประจำปีนี้ของพวกเขาอย่างมากทีเดียว.

การใช้งานในระบบสาระสนเทศ

การใช้งานระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพขององค์กรหรือธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง องค์กรที่มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ย่อมทำให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ องค์กรสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มประสิทธิในการผลิตสินค้าและบริการนำสู่ธุรกิจยุคใหม่ต่อไป

เนื้อหา

  [ซ่อน

ความหมาย[แก้ไข]

ระบบสารสนเทศ[แก้ไข]

ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ การรวบรวมประมวลผลกลั่นกรองข้อมูลต่าง ๆ ให้น่าเชื่อถือและสามารถนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วไปใช้ประกอบกับการตัดสินใจ เพื่อช่วยในการสรุปผลในเชิงบริหารขององค์กรได้ ระบบสารสนเทศประกอบด้วย
  • ข้อมูล คือ ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล
  • บุคลากร คือ ผู้ที่จะนำข้อมูลดิบที่ได้ไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ
  • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน คือ ขั้นตอนการนำข้อมูลไปประมวลผลให้เกิดเป็นสารสนเทศที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ
  • ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ
  • ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่ช่วยในการประมวลผลสารสนเทศให้ได้ตามความต้องการ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบสารสนเทศ[แก้ไข]

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการรวบรวม การจัดเก็บ การประมวลผล และการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีระบบ และเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญมากต่อองค์กร
ส่วนระบบสารสนเทศ (Information System: IS) คือ ระบบงานที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาทำหน้าที่ในการรวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติงานขององค์กร เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุดในการสนับสนุนในการบริหารและการตัดสินใจขององค์กร

เศรษฐกิจเชิงดิจิทัล(Digital Economy)[แก้ไข]

เศรษฐกิจเชิงดิจิทัล (Digital economy) หมายถึง การใช้ระบบเว็บเบสบน อินเตอร์เน็ต และเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
เศรษฐกิจเชิงดิจิทัล ยังอาจเรียกว่า Internet economy, New economy หรือ Web economy (content providers)[1]

คุณสมบัติและลักษณะเด่นของเศรษฐกิจเชิงดิจิทัลประกอบด้วย
  • การติดต่อสื่อสารสามารถทำงานร่วมกันได้จากทุกๆ ที่ในโลก
  • ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นทีวีไปจนถึงโทรศัพท์ และอุปกรณ์ที่เป็นระบบอนาลอกต่างๆ ถูกรวมเข้าในรูปแบบดิจิทัล
  • ทำให้กระบวนการทางธุรกิจมีความรวดเร็วขึ้น
  • ตลาดในสถานที่จริงได้ถูกแทนที่ด้วยตลาดบนอินเตอร์เน็ต
  • องค์กรจำนวนมากกำลังพยายามเปลี่ยนสถานะตัวเองให้เป็นดิจิตัลเต็มรูปแบบ
===ดิจิทัลออแกนไนเซชัน เป็นรูปแบบการจัดการองค์การสมัยใหม่โดยใช้ระบบดิจิตอลในการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์การ และช่วยให้องค์การสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การนำระบบคอมพิวเตอร์มาในงานโรงพยาบาลอย่างเต็มรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฏร ที่ได้นำระบบ และระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการยืนยันตัวตนผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่ภายในโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในการระบุตัวของผู้ป่วย ทำให้ระบุผลการตรวจได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว ทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจรักษา ทางโรงพยาบาลได้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์โรคของแพทย์และ แพทย์สามารถค้นหาประวัติผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและสามารถดูประวัติการรักษาผู้ป่วยในอดีตได้

รูปแบบทางธุรกิจ(Business Model)[แก้ไข]

รูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) หมายถึง กระบวนการในการดำเนินธุรกิจที่ทำให้บริษัทมีรายได้และผลกำไรเพื่อทำให้บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งรูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) นี้ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการของบริษัท ตัวอย่างเช่น สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี เช่น ช่อง 3 7 9 5 และ 11 มีปัจจัยของความอยู่รอดของธุรกิจขึ้นอยู่กับรูปแบบทางธุรกิจที่ซับซ้อน เช่น การโฆษณา ผู้จัดหาเนื้อหา (content providers)

การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในองค์กร(Adaptive Enterprise)[แก้ไข]

เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่นำมาใช้งานในองค์กร เพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กรให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

โมบายคอมพิวติง(Mobile Computing) และเอ็มคอมเมิรซ์(M-Commerce)[แก้ไข]

โมบายคอมพิวติง (Mobile Computing) เป็นลักษณะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น notebook โทรศัพท์มือถือ PDA เป็นต้น
เอ็มคอมเมิรซ์ (M-Commerce) เป็นลักษณะการทำธุรกรรมไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยอุปกรณ์ไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, pocket pc เป็นต้น

ความจำเป็นของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร[แก้ไข]

สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร[แก้ไข]

สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร (Business Environment Impact) ในบางครั้งประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรมิได้เกิดจากภายในขององค์กรเอง
แต่ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพขององค์กรอย่างมากมายและไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นองค์กรมีความจำเป็นต้องทราบถึงปัญหา (problems)
และโอกาส (opportunity) ที่เป็นองค์ประกอบหลักของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในองค์กร (business environment impact)
ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้องค์กรมีตอบสนองในการแก้ไขปัญหา และมีโอกาสในพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพตามกระบวนการขององค์กร (business process)
โดยองค์กรต้องมีเป้าหมาย (goals) กลยุทธ์ (strategy) และการวางแผนนโยบาย (plan) ที่ชัดเจน

ความกดดันของสภาพแวดล้อม[แก้ไข]

ความกดดันของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในองค์กร เมื่อมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
  1. ภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจมีการแข่งขันสูง
  2. คำนึงถึงความรวดเร็วในการทำงาน ไม่ทำงานล่าช้าสามารถแข่งขันกับคู่ค้าได้
  3. การให้พนักงานฝึกคิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
  4. ความน่าเชื่อถือขององค์กรในติดต่อกับลูกค้า เพื่อรักษาลูกค้า
  5. เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา
  6. การที่มีสารสนเทศจำนวนมาก ทำให้องค์กรพัฒนาการทำงานได้ยาก
  7. คำนึงถึงความรับผิดชอบทางด้านสังคม
  8. การควบคุมให้ปฏิบัติตามกฏหมายและกฎระเบียบของสังคม
  9. คำนึงถึงจรรยาบรรณ ความถูกผิดของการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  10. การป้องกันการถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดี โดยเฉพาะการทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ต

กระบวนการปรับตัวขององค์กร[แก้ไข]

การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมีอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้องค์กรประสิทธิภาพหรือประสบความสำเร็จได้ องค์กรต้องมีการปรับตัวหรือมีความคล่องตัว (Agile) กระบวนการปรับองค์กรมีดังนี้
  1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรให้เร็วที่สุดเมื่อมันเกิดขึ้น หรือก่อนเกิดขึ้น เช่น การใช้ software เข้ามาช่วยในการทำนายและวิเคราะห์เกี่ยวกับธุรกิจในด้านต่างๆ และตรวจสอบหาข้อผิดพลาดก่อนจะเกิดวิกฤติขึ้นกับองค์กร
  2. เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของ software ให้สามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียงกับองค์กรทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง และวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้บริษัทมีความสามารถกำหนดราคาของสินค้า และบริการ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3. เปลี่ยนองค์กรให้เป็น Digital และมีความคล่องตัว เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคที่การติดต่อสื่อสารและข้อมูลมีความสำคัญมากจึงจะเป็นต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีความคล่องตัว วิเคราะห์ข้อมูล และมีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว เพื่อให้สามารถวิเคระห์ให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วเพื่อเชิงความได้เปรียบทางธุรกิจ
  4. อย่ารอให้คู่แข่งทางการค้าเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงก่อน
  5. ปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศขององค์กรให้มีความรวดเร็ว เพื่อให้การวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลทำได้ด้วยความรวดเร็ว ดังนั้นบริษัทต้องมีการจัดการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่ดีใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร[แก้ไข]

เมื่อองค์กรมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แล้วย่อมก่อให้เกิดความคล่องตัวภายในองค์กร ดังนั้นประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร คือ ช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันกันทางการตลาดได้ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมช่วยตอบสนองความวิกฤตที่เกิดขึ้นในขององค์กร[แก้ไข]

แรงกดดันจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทต้องรับมือกับอุปสรรคที่เกิดขึ้น วิธีที่ช่วยสามารถตอบสนองต่อแรงกัดดัน หรือความวิกฤตที่ เกิดขึ้นในขององค์กรสามารถทำได้ดังนี้
  1. การพัฒนาระบบโดยใช้กลยุทธ์ (Develop strategic systems) เป็นระบบการนำกลยุทธ์ที่จัดเตรียมไว้มาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การพัฒนารูปแบบทางธุรกิจแบบใหม่ การลดต้นทุน การเพิ่มความสามารถด้านการบริการให้ดีขึ้น
  2. การสร้างพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นอันดับแรก
  3. การวิเคราะห์เพื่อทำให้สามารถดำเนินงานเป็นอย่างเหมาะสม ลดต้นทุน กระตุ้นการตัดสินใจในการผลิต สนับสนุนการทำงานรวมกัน เป็นตัวช่วยตัดสินใจสิ่งที่ทำเป็นประจำ
  4. การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ของการดำเนินธุรกิจ เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพ และได้ผลการดำเนินงานให้ดีขึ้น โดยใช้วิธีการจัดการและการจัดระบบใหม่ในการดำเนินงานทาง
  5. การใช้ self-service ในการจัดการข้อมูลของลูกค้า พนักงาน และอื่นๆ เช่น การติดตามลูกค้า การเปลี่ยนที่อยู่ หรือเกี่ยวกับการจัดสินค้าที่มีอยู่
  6. การสนับสนุนการแข่งขัน โดยใช้หลักการดำเนินงานที่ดี การจัดการที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพจะทำให้บรรลุผลสำเร็จ
  7. คำสั่งซื้อของลูกค้าหรือ By Order ต้องใช้ขั้นตอนและกระบวนการในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การแข่งขันด้านราคาของสินค้าที่มีมาตรฐาน
  8. การหาความต้องการที่เหมาะสมของลูกค้า เพื่อกำหนดมาตรฐานหรือตามที่ลูกค้าสั่ง เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  9. การสร้างสมาชิกทางธุรกิจ ทำให้การแข่งขันทางธุรกิจมีโอกาสเท่าๆ กัน เพื่อลดความเสี่ยงและลดต้นทุน การร่วมมือกันเป็นการสร้างประสิทธิภาพ และหาผลประโยชน์อื่นๆ
  10. การกระตุ้นให้มีการปรับปรุงใหม่ และสร้างสรรค์นั้นต้องใช้วิธีการให้ของรางวัล และการร่วมมือกัน
  11. เป็นตัวช่วยการดำเนินธุรกิจ คือ ขบวนการทำงาน ,ขั้นตอนการทำงาน และ การดำเนินงานที่ทำเป็นประจำ โดยใช้หลักการจำลองการทำทางธุรกิจแบบใหม่
  12. การใช้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เพื่อนำมาซึ่งการสร้าง การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่ขององค์กร
  13. การซื้อและขาย โดยทั่วไปต้องหาข้อมูลอื่นๆจากภายนอกธุรกิจมาทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการทำธุรกิจ
  14. การควบคุมการพัฒนาเทคโนโลยีในองค์กรต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์การแข่งขัน การวางแผนที่เหมาะสม รวมทั้งวิเคราะห์การจัดการด้านต้นทุน ,ประโยชน์ทางธุรกิจและความเสี่ยง
  15. การรวมระบบโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภายในองค์กร ร่วมระบบอื่นๆที่ทำงานรวมกันเพื่อความสะดวก ลดต้นทุนและวิเคราะห์หาความผิดพลาด และการแข่งขันที่ได้เปรียบ

การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร[แก้ไข]

เหตุผลที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ[แก้ไข]

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT มีบทบาทหลักในการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยให้การดำเนินกิจกรรม กระบวนการ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรสะดวกยิ่งขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นผู้นำ ดังนั้นผู้บริหารและสมาชิกขององค์กรจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับงาน และที่เกี่ยวข้องกับองค์กร สำหรับบุคคลทั่วไป การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มโอกาสในการเลือกอาชีพ ได้รับเงินเดือนสูง มีโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้าง การใช้และการบริหารระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ รู้จักเรียนรู้และหลีกเลี่ยงความล้มเหลว ในอดีตผู้บริหารองค์กรมักจะเป็นผู้ที่อยู่ในสายงานด้านการเงินหรือการตลาด แต่ในอนาคตผู้บริหารองค์กรจะต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและมีประสบการณ์การทำงานจากสายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

การพัฒนาองค์กรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ[แก้ไข]

องค์กรต่างๆ มีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุผลสำเร็จและก่อให้เกิดความได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยการนำเอาเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่น การควบคุมสิทธิของการใช้งานให้ผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถทำงานร่วมกันได้ การที่มีข่าวสารหรือสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องมีคลังในการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นที่เป็นระบบ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการกับเอกสาร ระบบการจัดการที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร การใช้โปรแกรมเชิงวัตถุ (object - oriented programming) ในการสร้างเว็บไซด์เพื่อการทำธุรกรรมทางการค้า เนื่องจากมีการผลิตเทคโนโลยีที่สามารถพกพาไปไหนได้อย่างสะดวก เช่น PDA , LAPTOP เป็นต้น ทำให้ง่ายสำหรับการทำงาน

ประสิทธิภาพของการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร[แก้ไข]

เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสนับสนุนการทำงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในแต่ละระดับขององค์กรจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์ที่แตกต่างกัน เช่น ฝ่ายตลาดจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการกำหนดกลุ่มลูกค้า ช่วยพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า สนับสนุนการขายสินค้าและบริการ และการให้บริการแก่ลูกค้า ส่วนฝ่ายผลิตมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการวางแผน การพัฒนา และการผลิตสินค้าและบริการ และควบคุมการไหลเวียนของกระบวนการผลิต สำหรับฝ่ายบัญชีและการเงิน มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อติดตามการเก็บรักษาและใช้งานทรัพย์สินขององค์กร และกระบวนการไหลเวียนของระบบเงินทุน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในภาพรวมขององค์กรได้ดังนี้
  1. จัดการด้านการคำนวณเชิงตัวเลขที่มีขนาดใหญ่และความเร็วสูง
  2. จัดให้มีการสื่อสารที่มีราคาไม่แพง แม่นยำ และรวดเร็วให้มีใช้ภายในองค์กรและระหว่างองค์กร
  3. ทำการเก็บสารสนเทศขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและใช้เนื้อที่น้อย
  4. สามารถเข้าถึงสารสนเทศจำนวนมากจากทั่วโลกอย่างรวดเร็วและราคาไม่แพง
  5. สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันจากทุก ๆ ที่ทุกเวลา
  6. เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเป็นทีม โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน
  7. ทำให้เป็นอัตโนมัติทั้งกระบวนการทางธุรกิจที่เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติและงานที่ยังใช้มือทำ (Manual)
  8. ช่วยแปลความหมาย (Interpretation) จากข้อมูลจำนวนมหาศาล
  9. ช่วยด้านกิจการการค้าทั่วโลก (Global Trade)
  10. สามารถดำเนินงานแบบไร้สาย (Wireless) เพื่อสนับสนุนการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบเฉพาะ
  11. การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น ต้องมีราคาถูกกว่าการทำด้วยมือ (Manual)
  12. สามารถสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ คือ ปรับปรุงผลิตผล (Improving Productivity) ลดต้นทุน (Reducing Cost) สนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Making) เพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้า (Enhancing Customer Relationship) และพัฒนาการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ใหม่ ๆ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์[แก้ไข]

networked computing คือการเอาระบบสารสนเทศไปติดตั้งหรือโฮสต์บนอินเทอร์เน็ต โดยมีองค์กรที่สาม เป็นผู้จัดเตรียมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และดูแลระบบสารสนเทศของลูกค้าที่ได้นำ มาติดตั้งซึ่งจะเชื่อมแต่ละเครื่องเข้าด้วยกันเหมือนสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เสมือน ทำให้ทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะมีการแบ่งงานกันทำงาน จะมี network เป็นตัวกลางของแต่ละเครื่องช่วยในการประมวลผล วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วย
  1. ความต้องการ (Requirement) คือ ความต้องการของผู้ใช้ระบบ
  2. ทรัพยากร (Resource) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ประมวลผลข้อมูล เช่น RAM , Harddisk , CPU เป็นต้น
  3. บริการ (Service)

ระบบเรียลไทม์ (Real-time)[แก้ไข]

The real-time enterprise and list of characteristic  : ระบบ real-time และลักษณะของระบบ
Rail time enterprise เป็นระบบระบบหนึ่งที่นำเทคโนโลยีมาลดเวลาในระหว่าง เมื่อมีข้อมูลที่จะบันทึกเข้าไปในระบบและเมื่อข้อมูลจะเข้าสู่การประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการและนำไปช่วยในการตัดสินใจได้ และนี่ก็เป็นสี่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับระบบที่มีความซับซ้อน ยุ่งยากในเรื่องของความแตกต่างทางด้านธุรกิจ
ลักษณะของระบบ
  1. ความรู้จากการดำเนินการของคุณ
ลักษณะพิเศษของระบบ real-time คือ มีการทำงานร่วมกันภายในระบบโดยใช้เวลาไม่มากเพื่อให้รู้โครงสร้างในการตัดสินใจทางธุรกิจ
  1. ผลที่ได้ของระบบ
การส่งของมูลของระบบ real-time จะส่งอย่างรวดเร็วและบ่อยครั้งมีการโต้ตอบหากเกิด Event บางอย่างเช่น หากมีการส่งสินค้าช้า ควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง
  1. เข้าใจในผลประโยชน์ของคุณ
ระบบ real-time มีจุดมุ่งหมายที่จะรองรับผลประโยชน์ทั้งหมดอย่างรวดเร็วเหมือนเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจของคุณ

แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization)[แก้ไข]

แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เป็นการปรับกระบวนการผลิตและโครงสร้างขององค์กรไม่ให้มีข้อจำกัดมากเกินไป แต่ให้มีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง โดยสามารถผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองลูกค้าที่แตกต่างกันได้เป็นรายคน มีระดับราคาที่ไม่ห่างจากการผลิตสินค้าหรือบริการจำนวนมากที่มีมาตรฐานการ (Standardization) ถ้าสินค้าของเรามีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน จะทำให้องค์กรหรือธุรกิจมีความได้เปรียบนาน แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เป็นโมเดลใหม่ที่มาแทนที่ Mass Production ซึ่งเป็นการผลิตสินค้าออกมาจำนวนมากๆ ขึ้นอยู่กับต้นทุน เพื่อให้ได้ผลกำไรให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างของแมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เช่น บริษัทพีซีคอมพิวเตอร์เปิดเว็บไซด์ (Website) ขึ้นมาสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์พีซี ลูกค้าสามารถกำหนดความต้องการ หรือกำหนดสเปกของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ต้องการ เลือก Main Board ที่ชอบ หรือ CPU ที่พอใจ พอใส่ข้อมูลเสร็จทาง เว็บไซด์ (Website) ก็จะคำนวณราคาให้ตามที่ลูกค้าต้องการ

การทำงานอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต ( Internet )

อินเทอร์เน็ตคืออะไร


อินเทอร์เน็ต ประวัติอินเทอร์เน็ต ประโยชน์และการใช้งานอินเทอร์เน็ต

       อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง (คล้ายกับเลขที่บ้าน) ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียกค่า “ไอพี-แอดเดรส” (IP-Address) ในการระบุชื่อเครื่องจะไม่มีเบอร์ที่ซํ้ากันได้
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ระบบการเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ต

ประวัติของอินเทอร์เน็ต


         อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก

           การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
       ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการท าธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


       ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่ค “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคว่า Thailand
อินเทอร์เน็ต internet
การใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง
ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535
        กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ( UUNET Technologies ) ประเทศสหรัฐอเมริกา

          ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT ) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” ( THAInet ) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ ( Gateway ) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

       ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

          ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสคัญมาก ขึ้นเป็นลดับเครือข่าคอมพิวเตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ "อินเทอร์เน็ต" (Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบคลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้ว

         ปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512 ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและโดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นกลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่

        การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง

การทำงานของอินเทอร์เน็ต


         การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต ภาพการทำงานของ DNSDomain name system :DNS

โดเมนเนม (Domain name system :DNS)

        เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจนวนมากขึ้น การจดจหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจตัวเลข

         โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ .com ย่อมาจาก commercial สหรับธุรกิจ .edu ย่อมาจาก education สหรับการศึกษา .int ย่อมาจาก International Organization สหรับองค์กรนานาชาติ .org ย่อมาจาก Organization สหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหาก าไร .org ย่อมาจาก Organization สหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากไร


บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต


       1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator
       2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถท าได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการท างานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลแอดเดรส (E-mail address)

องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย

1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
2. ชื่อโดเมน Username@domain_name

การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ

       1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
      2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail
      3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol) เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ

               1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com
                2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการน าไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander
        4. บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message) สนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ การ ส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ (I seek you) MSN Messenger, Yahoo Messenger เป็นต้น
        5. บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

               1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com
               2. Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com, www.google.co.th, www.sansarn.com
              3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทการส่งคที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch เช่น www.search.com, www.thaifind.com
        6. บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด (Web board) เว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com)
        7. ห้องสนทนา (Chat Room) ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน การเข้าไปสนทนาจเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนาเช่น www.sanook.com www.pantip.com

อินเทอร์เน็ต internet
สื่ออินเตอร์เน็ตมีความสำตัญต่อในชีวิตประจำวันมาก
เพราะอินเตอร์เน็ตมีความสะดวก สบาย และรวดเร็วในการใช้

ยุคของอินเทอร์เน็ต

           อินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายที่มีการพัฒนามาต่อเนื่องไม่น้อยกว่าสามสิบปีแล้ว ในตลอดช่วงพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตนั้น สามารถแบ่งได้เป็นสามยุคด้วยกัน
"Internet 1.0"
          ยุคแรกเป็น ยุคของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล (Human-to-Human Communication) ในยุคนี้พัฒนาการของอินเตอร์เน็ตจะเป็นเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเทคโนโลยีที่สคัญที่พัฒนาใช้งานกับอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในยุคนี้ได้แก่ อีเมล (Email) และ ยูสเน็ต (UseNet)

        อีเมลเป็นเทคโนโลยีที่ยังมีการใช้งานในปัจจุบัน นอกจากการสื่อสารระหว่างบุคคลแล้วอีเมลได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคล (Human-to-Community Communication) ด้วย เทคโนโลยีเพื่อการนี้เรียกว่า เมลลิ่งลิสต์ (Mailing List) ซึ่งก็ยังมีการใช้งานอยู่เช่นกัน
       ส่วน UseNet ได้รับความนิยมลดน้อยลง แต่ก็ยังมีการใช้งานอยู่อย่างสม่ำเสมอจากผู้ใช้ที่ใช้งานมาตั้งแต่ในอดีต ผู้ให้บริการ UseNet รายสคัญในปัจจุบันคือ Google ภายใต้ชื่อ Google Groups นั่นเอง
"Internet 2.0"
          ยุคต่อมาเป็น ยุคของการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับคอมพิวเตอร์ (Human-to-Computer Communication) เทคโนโลยีสคัญที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคนี้ได้แก่ เว็บ (Web หรือ World Wide Web) เว็บเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทงานใดงานหนึ่งจากระยะไกลได้ผ่านกระบวนการใช้งานที่เป็นมาตราฐานเดียวกัน
       ก่อนหน้าเทคโนโลยีเว็บ การใช้งานคอมพิวเตอร์จากระยะไกลจะเป็นการใช้งาน “เครื่องคอมพิวเตอร์” เพื่อทงาน ด้วยเทคโนโลยีเว็บทให้การใช้งานคอมพิวเตอร์จากระยะไกลเป็นการใช้งาน “ระบบงาน” เพื่อทงาน
        อธิบายในรายละเอียดของความแตกต่างดังกล่าวจะได้ว่า ในอดีตผู้ใช้ต้องใช้โปรแกรมจลองหน้าจอเพื่อเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งแล้วใช้โปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นทงาน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยุคแรกๆ ของ ม.สงขลานครินทร์จะจได้ว่าต้อง “telnet” มาใช้เครื่อง “ratree.psu.ac.th” เพื่อใช้ “pine” ในการรับส่งอีเมลเป็นต้น แต่ด้วยเทคโนโลยีเว็บผู้ใช้ที่ต้องการรับส่งอีเมลจะใช้โปรแกรม Web Browser เปิดเว็บที่ http://webmail.psu.ac.th/

          นอกจากนี้เว็บยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ใช้วิธีการใช้งานเดียวกันนั้น (ผ่าน Web Browser) เพื่อใช้ “ระบบงาน” อาทิเช่น “ระบบสารสนเทศบุคลากร ม.สงขลานครินทร์” ที่ http://dss.psu.ac.th/ “ระบบธนาคารไทยพาณิชย์” ที่ http://www.scbeasy.com ระบบสั่งซื้อสินค้า ที่ http://amazon.com/ เป็นต้น
สังเกตว่าผู้ใช้ไม่จเป็นต้องรู้ “ที่อยู่เครื่องคอมพิวเตอร์” เพียงแต่รู้ “ที่อยู่ของระบบงาน” เท่านั้น แม้ว่าที่อยู่ของเครื่องจะแฝงอยู่ในที่อยู่ของระบบงานแต่ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก อาทิเช่น http://www.scb.co.th และ
http://www.scbeasy.com ต่างเป็นที่อยู่ของระบบงานที่อาจอยู่ในเครื่องเดียวกัน อยู่คนละเครื่องแต่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน หรืออยู่ต่างเครือข่าย ก็ไม่มีความจ าเป็นที่ผู้ใช้จะต้องรู้
         กล่าวโดยสรุปคือในมุมมองเชิงแนวความคิด (Conceptual Prospective) แล้ว เว็บทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตเปลี่ยนจากการอยู่บนพื้นฐานของ “เครื่อง” เป็น “ระบบ”
"Internet 3.0"
         ยุคที่สามของอินเตอร์เน็ตเป็นยุคที่เรากลังจะก้าวไปสู่เป็น ยุคของการสื่อสารเพื่อการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ (Computer-to-Computer Communication) รายละเอียดในเชิงแนวความคิดของยุคนี้เป็นเรื่องราวที่ต้องทความเข้าใจกันมากทีเดียว เนื่องจากยุคนี้ “ยังมาไม่ถึง” และจะเป็นยุคที่สคัญมากของการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติทีเดียว

        เมื่อกล่าวว่าเป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เป็นในยุคที่สาม ผู้อ่านอาจสงสัยว่าคอมพิวเตอร์ก็ต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อยู่แล้วเพื่อให้เกิดอินเตอร์เน็ตไม่ใช่หรือ ทไมพึ่งมาเชื่อมเอาในยุคที่สาม?

        “การเชื่อมต่อ” ในบทความนี้ที่กล่าวมาเป็นการกล่าวถึงการเชื่อมต่อในระดับของสารสนเทศ (Information) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อในระดับที่สูงกว่าใน “การรับรู้ความหมาย” กว่าการเชื่อมต่อเพื่อการส่งผ่านข้อมูล (Data Communication)

        ในยุคที่สามนี้จะเป็นยุคที่ “ระบบงาน” จะติดต่อสื่อสารกันเพื่อให้สารสนเทศซึ่งกันและกันเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ กล่าวคือในมุมมองเชิงแนวความคิด (Conceptual Prospective) แล้ว ในยุคนี้ “ระบบงาน” จะให้ “บริการ” สารสนเทศของตนแก่ระบบงานอื่นๆ และใช้บริการสารสนเทศจากระบบงานอื่นๆ เพื่อประกอบเป็นบริการของตนให้แก่ผู้ใช้
อินเทอร์เน็ต internetหน้าตาของเว็บไซต์ต่างๆ 

"Web 2.0"

           จะเห็นได้ว่าในยุคที่สามนี้จะมีการกล่าวถึง “บริการ” ระหว่างกันและในการติดต่อสื่อสารของข้อมูลในระบบนี้ก็ยังผ่านเทคโนโลยีพื้นฐานบางอย่างของเว็บ ดังนั้นนักการตลาดของหลายบริษัทจึงใช้คว่า “Web Services” แทนความหมายของยุคที่สามนี้ ในขณะนี้ศัพท์ที่เป็นที่นิยมอีกคหนึ่งที่จะแทนความหมายของยุคนี้คือ “Web 2.0” (ควรอ่านว่า Web Two Point Oh อย่าอ่านว่าเว็บสองจุดศูนย์) ขอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าศัพท์เหล่านี้เป็นศัพท์กว้างๆ เพื่อความหมายเชิงการตลาดมากกว่าที่จะมีความหมายเชิงเทคโนโลยี
        ในยุคที่สามของอินเตอร์เน็ตนั้นถือได้ว่าเป็นยุคที่สองของเว็บ ความหมายของยุคที่สองของเว็บได้มีผู้อธิบายไว้หลากหลาย แต่ยุคที่สองของเว็บจะอธิบายได้ชัดเจนต้องอธิบายด้วยการนสถานะของผู้ใช้และการเข้าถึงข้อมูลเป็นตัวตั้ง

         ในคอธิบายในสถานะของผู้ใช้นั้น ในยุคแรกของเว็บจะเป็นยุค “เว็บเพื่ออ่านอย่างเดียว” (Read-Only Web) ในยุคนี้ผู้อ่านและผู้เขียนจะแยกกันอย่างชัดเจน คนเขียนจะมีหน้าที่เขียนส่วนคนอ่านจะมีหน้าที่อ่าน ไม่ปะปนกัน ส่วนในยุคที่สองจะเป็นยุค “เว็บเพื่อการอ่านและเขียน” (Read-Write Web) ในยุคนี้ผู้อ่านและผู้เขียนจะเป็นบุคคลเดียวกัน

        ส่วนคอธิบายว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลนั้น ในยุคแรกเว็บจะมี “Site” เป็นเว็บไซต์ (Web Site) นั่นคือสารสนเทศจะมีที่อยู่ที่แน่นอน แต่ในยุคที่สองเว็บจะไม่มี “Site” อีกต่อไป สารสนเทศจะเกิดการแลกเปลี่ยนกันโดยระบบงานเพื่อไปหาผู้ใช้ กล่าวอีกมุมหนึ่งคือ ในยุคแรกผู้ใช้ต้อง “ไปหา” สารสนเทศ แต่ยุคที่สองสารสนเทศจะ “มาหา” ผู้ใช้นั่นเอง
"Outlook from Thailand"
            ในขณะนี้อินเตอร์เน็ตลังก้าวสู่ยุคที่สาม และเว็บซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคของอินเตอร์เน็ตนั้นก็กลังก้าวสู่ยุคที่สอง ความหวังของเราในฐานะนักพัฒนาซอฟท์แวร์ในประเทศไทยคือเราจะได้เป็นผู้ส่งออกเทคโนโลยีที่เป็นส่วนหนึ่งของยุคใหม่ที่กลังจะมาถึงนี้ นพาประเทศไทยให้ปรากฎในแผนที่โลกว่าเราก็เป็นหนึ่งใน “ผู้ให้” เทคโนโลยีแก่ชาวโลกเช่นเดียวกัน